สถานที่ขอหวย วัดบุปผาราม เชียงใหม่ ปี 2565 อารามตะวันออกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของราชธานี นครเชียงใหม่
สถานที่ขอหวย วัดบุปผาราม เชียงใหม่ ปี 2565 วัดบุพพาราม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา
วัดบุพพาราม วัดอุปปา วัดอุปปาใน หรือ วัดเม็ง สร้างในสมัยพญาแก้ว (พ.ศ. 2039–2069) มีบันทึกใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ถึงการสร้างวัดนี้ว่า หลังจากที่พญาแก้วได้อภิเษกแล้วในปีที่สอง ได้โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่ง ในหมู่บ้านที่พระราชปัยกา (พระเจ้าติโลกราช) ครั้งเป็นยุพราช และพระบิดาของพระองค์ (พญายอดเชียงราย) เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 858 (พ.ศ. 2040) พระองค์ตั้งชื่ออารามว่า “บุพพาราม” มีความหมายว่า “อารามตะวันออก” ซึ่งหมายถึงอารามนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของราชธานีนครเชียงใหม่ ต่อมาในปีที่ 3 ของการครองราชย์ พญาเมืองแก้วทรงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่งท่ามกลางมหาวิหาร ในอารามนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และย่างเข้าปีที่ 4 พญาเมืองแก้วทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอพระมณเฑียรธรรม ที่พระองค์โปรดให้สร้างไว้ในวัดบุพพาราม ตามที่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ว่า
สถานที่ขอหวย วัดบุปผาราม เชียงใหม่ ปี2565 เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชองค์นี้ หลังจากได้อภิเษกแล้ว ในปีที่ ๒ ได้โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชปัยกาครั้งเป็นยุพราช และพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง จุลศักราช ๘๕๘ (พ.ศ. ๒๐๔๐) และพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า ปุพพาราม แปลว่าอารามก่อน โดยหมายถึงอารามนั้นมีอยู่ด้านทิศบูรพา (ทิศที่ตะวันขึ้นที่นั่นก่อน) แห่งราชธานีนครเชียงใหม่ ต่อแต่นั้นมา ย่างเข้าปีที่ 3 เป็นปีมะเมีย พระองค์ทรงสร้างปราสาทขึ้นองค์หนึ่งท่ามกลางมหาวิหารในอารามนั้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ต่อแต่นั้น ย่างเข้าปีที่ 4 เป็นปีระกา พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราชทรงฉลองพระไตรปิฎกฉบับลงทองและหอพระมณเทียรธรรมที่พระองค์โปรดให้สร้างไว้ในวัดปุพพาราม
ชินกาลมาลีปกรณ์
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ทรงนิมนต์พระมหาสังฆราชาปุสสเทวะให้มาจำพรรษา ณ วัดบุพพาราม และทรงสร้างพระพุทธรูปเงิน 1 องค์
เจ้าพระญาแก้วภูตาธิปติราชะเจ้าได้เปนพระญาแล้ว เจ้าค็กะทำบุญเปนต้นว่า ส้างปุพพาราม แล้วไพราทธนามหาสังฆราชาปุสสเทวะมาเปนสังฆนายกะรักษาพระเจ้าในอารามนั้นแล ในขณะอันเวนอารามหื้อเปนทานนั้น แผ่นดินไหวเปนอัจฉริยะนัก ลวดส้างพระพุทธรูปเงินองค์ ๑ ฐปนาไว้ปุพพารามหั้นแล
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
ภายหลังการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2362 พระยาธรรมลังกา เจ้าเมืองเชียงใหม่ โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็ก ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า
สกราช ๑๑๘๑ ตัว ปลีกัดเหม้า เดือน ๘ เพง เมงวัน ๕ เจ้ามหาเทพตนเปนราชนัตตาเปนปฐมมหามูลสัทธา ค็ได้ส้างยกปกยังวิหารวัดพานอ้น พระเปนเจ้าเปนมหาสัทธาค็ได้ปกวิหารวัดป้านพิง วัดดอกฅำ วัดเชียงยืน สาลาเทส วิหารวัดปุพพาหลังวันออก วันเดียวกัน
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่
รายชื่อวัดและนิกายสงฆ์โบราณซึ่งสำรวจเมื่อพ.ศ. 2400 โดยหนานอุ่นเมือง กองธรรมการสงฆ์เชียงใหม่ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ระบุว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดนิกายเม็ง (มอญ) อยู่ในหมวดอุโบสถวัดพันตาเกิน (วัดชัยศรีภูมิ์) ขึ้นกับวัดมหาวัน จึงมีอีกชื่อว่าวัดเม็ง และวัดอุปปาใน คู่กันกับวัดชัยมงคลที่เรียกว่าวัดอุปปานอก
วัดบุพพารามได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2070 ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 145 วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 หน้า 2953 พื้นที่โบราณสถาน ประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 87 ตารางวา
ขอบคุณที่มา : wikipedia.org
—————————————————————————————————————————————
สนใจอ่าน ข่าวหวย หรือดู ผลสลาก หวยออนไลน์ เลขเด็ด เลขมาแรง ได้ที่ : หวยออนไลน์
สนันสนุน ข่าวสาร หวยดี และ เลขนำโชค เลขเด็ดงวดนี้ แม่นๆ เลขนำโชค เลขแม่นๆ งวดนี้ ของเราโดย : huaykeys789.com